‘บิสกิต โซลูชั่น’ ส่ง AI ถอดรหัสกระแสเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. โชว์ศักยภาพโซเชียลอนาไลติกส์ พร้อมยกระดับอัจฉริยะด้านภาษา บิสกิต โซลูชั่น หรือ BIZCUIT หนึ่งในผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยี AI โซลูชั่น จับกระแสคนไทยตื่นตัวเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในรอบ 9 ปี[1] จนเกิดปริมาณข้อมูลบนโลกออนไลน์ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเป็นจำนวนมหาศาลกว่า 4 ล้านคำ ชี้คือขุมทรัพย์ทางปัญญาของเทคโนโลยี AI เดินหน้าส่งระบบช่วยยกระดับความชาญฉลาดของเทคโนโลยี AI ด้าน Machine Learning ลุยสร้างเทรนนิ่งดาต้าจากข้อมูลสาธารณะ 100% บนแพลตฟอร์มออนไลน์ มุ่งยกระดับความอัจฉริยะด้านภาษาที่ซับซ้อนเข้าใจยากให้กับ AI
โดยเฉพาะการวิเคราะห์เจตนาของ Text-PowerTM
ระบบบริการวิเคราะห์ภาษาผ่าน API ด้วย AI Natural Language Understanding หรือ การเข้าใจภาษาแบบธรรมชาติที่มีความสามารถถึง 4 ภาษา พร้อมโชว์ศักยภาพ AI ที่ต่อยอดทำได้มากกว่าการนับคำหรือการวิเคราะห์ความรู้สึกเชิงลบหรือบวกที่นิยมทำแบบโซเชียลลิสซินนิ่ง (Social Listening) แบบเดิม ใช้เวลาเริ่มพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีเพียง 4 สัปดาห์ สร้างให้ AI Machine Learning เข้าใจบริบทการเลือกตั้งได้ พร้อมเผยพบข้อมูลคนไทยสนใจการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. สูงขึ้นทุกแพลตฟอร์ม โดยวันที่ 28 เมษายนเป็นต้นมา
นายสุทธิพันธุ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิสกิต โซลูชั่น จำกัด หรือ BIZCUIT เปิดเผยว่า BIZCUIT มุ่งมั่นที่จะให้หลายหน่วยงานสามารถใช้ประโยชน์ของ AI ในการเข้าใจภาษาธรรมชาติ ด้วยเทคโนโลยี Machine Learning หรือ NLU (Natural Language Understanding) เพื่อต่อยอดธุรกิจและหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบัน BIZCUIT มี AI ที่พร้อมเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ อยู่แล้ว 16 หมวด โดยเรื่องการเมืองการเลือกตั้งนั้นถือเป็นหมวดที่ 17 และหนึ่งในพันธกิจของ BIZCUIT
ในฐานะที่เป็นบริษัทของคนไทย คือการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเข้าใจภาษาแบบธรรมชาติในเชิงลึกโดยเฉพาะภาษาไทย เพื่อให้ AI เข้าใจในความหลากหลายของมิติการใช้ภาษาและครอบคลุมมากที่สุด โดยทาง BIZCUIT เล็งเห็นมูลค่าของข้อมูลการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครบนโลกออนไลน์ในทุกแพลตฟอร์มในครั้งนี้ ว่าเป็นขุมทรัพย์ทางข้อมูลในรูปแบบตัวอักษรที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งในรอบหลายปี
ทั้งนี้กระแสในโลกออนไลน์กำลังตื่นตัวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งเป็นการเลือกตั้งในรอบ 9 ปี ทำให้มีปริมาณข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งจำนวนมากบนโซเชียลมีเดียในหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งเหมาะที่จะทำการศึกษา และทดสอบการเพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยี AI ด้าน Machine Learning ในด้านการเข้าใจภาษาแบบธรรมชาติ (NLU) ของ BIZCUIT ให้มีความเข้าใจในบริบท หรือ domain ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเมืองได้มากขึ้น
ซึ่งการเข้าใจใน domain การเมืองนั้น เป็นหนึ่งในเกือบ 20 domain
ที่ทางบริษัทฯ มีอยู่แล้ว ซึ่งสามารถเข้าใจได้ถึง 4 ภาษาไปพร้อมกับการแสดงศักยภาพความชาญฉลาดของระบบ AI ที่ต่อยอดการนำข้อมูลจากโซเชียลมาวิเคราะห์ได้มากกว่าการนับคำหรือการวิเคราะห์ความรู้สึกเชิงลบหรือบวก ที่มักพบในการทำโซเชียลลิสซินนิ่ง (Social Listening) ทั่วไป
แต่สามารถวิเคราะห์ได้ลึกซึ้งถึงเจตนาในการแสดงความคิดเห็นและแยกแยะประเภทกลุ่มความคิดเห็นแบบอัตโนมัติได้ หรือ โซเชียลอนาไลติกส์ (Social Analytics) ที่มีโครงสร้างภาษาที่ไม่ได้เหมือนกับ domain อื่น ๆ ที่บริษัทมี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารประสบการณ์การใช้บริการ หรือ การร้องเรียนผ่านช่องทางของ Brand ซึ่งมีความสามารถในการสังเคราะห์ข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการทำ Social Listening ที่ทำงานด้วย keyword เป็นหลักโดยการสร้างข้อมูลที่ใช้สอน AI หรือ Training Data ในครั้งนี้ใช้ข้อมูลสาธารณะ 100% บนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ยินยอมในการเปิดเผยให้สาธารณะทราบ กระบวนการในการสร้าง Training Data นั้นยังมีระบบอัตโนมัติในการลบข้อมูลระบุตัวตนทั้งหมดก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนเริ่มงาน ทำให้ผู้ที่ทำหน้าที่ Train Data นั้นไม่ทราบที่มาของข้อมูล
“BIZCUIT ได้ดึงข้อมูลตัวอักษรจาก Social Media แพลตฟอร์มต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน เนื่องจากแต่ละแพลตฟอร์มมีเงื่อนไขการดึงข้อมูลมาสุ่มวิเคราะห์แตกต่างกัน และมีโครงสร้างข้อมูลของแพลตฟอร์มไม่เหมือนกัน ซึ่งประกอบด้วย Twitter, YouTube และ Facebook รวมกันมากกว่า 230,000 ข้อความ รวบรวมทั้งโพสต์, คอมเม้นท์, ทวีต เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ทั้งในแง่มุม Sentiment หรือ ความรู้สึก, Topic Classification หรือ การแยกประเภทสิ่งที่พูดถึง และ Intention หรือการแยกเจตนาการแสดงความเห็น ซึ่งให้ insight มากกว่าการวิเคราะห์โดยทั่วไป ที่สามารถวัดผลให้ทราบได้เพียงจำนวนข้อมูลและ Sentiment แต่เทคโนโลยี AI ด้าน Machine Learning สามารถวิเคราะห์ให้เราได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลโซเชียลมีเดียอย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่า โดยไม่ต้องใช้มนุษย์มาลงแรงและเวลาในการทำ” นายสุทธิพันธุ์กล่าว
BIZCUIT ใช้ AI NLU ด้านการเลือกตั้งมาวิเคราะห์ผลจาก ใน Twitter ซึ่งเลือกดึงมาวิเคราะห์โดยใช้ Keyword และ แฮชแท็ก เป็นเงื่อนไขแรกในการดึงข้อมูลทั้งสิ้น 37,356 ข้อความ เข้ามาวิเคราะห์ ซึ่งรวมจำนวน tweet และ reply ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. – 7 พ.ค. 2565 และจากกระแสในการดีเบตในวันที่ 28 เมษายน ก็ได้มีการเลือกดึงใน YouTube โพสต์ ของการดีเบตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ของ YouTube Channel 3 News
โดย “หลุมดำ” คือ วัตถุปริศนาที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ที่แม้กระทั่งแสงก็ไม่อาจเล็ดลอดออกไปได้ ซึ่งเราสามารถสังเกตแก๊สร้อนที่สว่าง รอบ ๆ หลุมดำ จนเกิดเป็นภาพวงแหวน ล้อมรอบเงาดำ ซึ่งเป็นบริเวณที่เรียกว่า ขอบฟ้าเหตุการณ์ ของหลุมดำ (Event Horizon)
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง